หน้าแรก >> ข่าวทั้งหมด >> อ่านบทความ/ข่าว

ทำไม แบรนด์สมาร์ทโฟนจีน จึงกล้าขายมือถือ "สเปกจัดเต็ม" ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง?

นับวันวงการสมาร์ทโฟนยิ่งมีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมือถือจากฝั่งประเทศจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น OnePlus, Meizu หรือ Honor แบรนด์ลูกของ Huawei ด้วยการชูจุดเด่นในเรื่องของสเปกตัวเครื่องแบบจัดเต็ม ในราคาที่น่าคบหาเมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่งจากต่างประเทศ

เพราะมือถือผลิต / ประกอบที่จีน

จริงๆ แล้วส่วนประกอบของมือถือหลักๆ นั้น แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศจีนเลย โดยชิปเซ็ตประมวลผล Qualcomm ก็มีฐานการผลิตอยู่สหรัฐฯ, ชิปเซ็ต MediaTek ตั้งอยู่ที่ไต้หวัน ส่วนชิปเซ็ต Exyos ก็ตั้งอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ผู้ผลิต semiconductor รายใหญ่อย่าง TSMC ก็อยู่ที่ไต้หวัน ส่วนผู้ผลิต Memory ก็มีบริษัทอยู่ในประเทศที่กล่าวมาด้านต้น อีกทั้ง โมดูลกล้อง Sony IMX ที่หลายรุ่นใช้กันก็ผลิตในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ชิปเซ็ต HiSilicon ยังมีการสั่งผลิตจาก TSMC ด้วย

แต่ส่วนประกอบที่ผลต่อต้นทุนในด้านการผลิตได้จริงๆ นั่นก็คือ หน้าจอแสดงผล, แบตเตอรี่ และการประกอบเครื่อง ที่จะมีกระบวนการอยู่ในประเทศจีนทั้งหมด โดยเฉพาะในส่วนของหน้าจอแสดงผลที่อาจเป็นหนึ่งในส่วนประกอบ ที่ค่อนข้างมีผลต่อราคาของมือถือจีนเมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่งแต่ละแบรนด์ ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์เหล่านี้จะเลือกใช้หน้าจอแบบ AMOLED หรือ LCD

เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา IHS Technology ได้วิเคราะห์ออกมาว่า ต้นทุนการผลิตจอ AMOLED และ LCD ขนาด 5 นิ้ว อยู่ที่ราว 500 บาท ถึง 510 บาทเท่านั้น ซึ่งปกติแล้ว แบรนด์สมาร์ทโฟนประเทศจีนส่วนมากมักจะเลือกใช้จอแบบ LCD เป็นหลัก ทำให้อาจเป็นเหตุผลในเรื่องของราคาค่าตัวที่น้อยลงได้ แต่อย่างไรก็ดี ยังมีสมาร์ทโฟนระดับเรือธงอีกหลายค่ายที่เลือกใช้จอ LCD เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Sony Xperia, HTC10, LG G5, LG V20 หรือแม้แต่ iPhone 7 ก็ตาม ซึ่งหากเราวิเคราะห์ตามหลักด้านต้น ราคามือถือที่ใช้จอ LCD และ AMOLED จากแบรนด์ดังหลายๆ ค่าย อาจแตกต่างกับแบรนด์มือถือจีนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเพิ่มเติม แต่จะจริงหรือไม่ เราลองไปดูสเปกมือถือจีนเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ตามตารางด้านล่างกันดีกว่าครับ

ตามตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า สมาร์ทโฟนจากประเทศจีนแต่ละรุ่น (Honor 8, OnePlus 3T และ ZTE Axon 7) มีสเปกภายในที่ค่อนข้างคล้ายคลึงจากแบรนด์คู่แข่งต่างประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นชิปเซ็ตประมวลผล, RAM รวมถึงหน้าจอแสดงผลแบบเดียวกัน แต่ทว่าเมื่อดูในเรื่องราคาแล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าต้นทุนการผลิตหน้าจอส่งผลต่อราคาที่พุ่งสูงขนาดนี้ได้อย่างไร ? หรือบางทีปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างด้านราคา อาจเกิดมาจากค่าใช้จ่ายการผลิตด้านอื่นอย่าง "ค่าการประกอบ" ที่แตกต่างกัน ถ้าอย่างนั้น เราลองไปดูกันดีกว่า ว่าแบรนด์สมาร์ทโฟนชื่อดังนั้นประกอบมือถือที่ไหนบ้าง

  • Samsung > เวียดนาม, เกาหลีใต้, จีน, อินเดีย, บราซิล และอินโดนีเซีย
  • Apple > จีน (และอีนเดียในอนาคต)
  • Sony > จีน, ไทย
  • HTC > ไต้หวัน
  • LG > จีน, เวียดนาม, อินเดีย
  • OPPO / OnePlus / Vivo > จีน
  • Huawei > จีน, อินเดีย
  • Xiaomi > จีน, อินเดีย

จะเห็นได้ว่า แบรนด์สมาร์ทโฟน Android ตามรายชื่อที่ปรากฏด้านต้น มีการประกอบมือถือที่ประเทศจีนเกือบทั้งหมดยกเว้น HTC เพียงรายเดียว ฉะนั้นแล้ว ความแตกต่างในเรื่องค่าใช้จ่ายการผลิตในเรื่องนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกันซักเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการประกอบส่วนมากจะอยู่ที่ราว 5 - 10 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น ตามการวิเคราะห์ของ IHS ที่ผ่านๆ มา แต่ทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนของจีนยังคงมีความแตกต่างในเรื่องของราคาอยู่ ซึ่งหากเราดูที่ ZTE Axon 7 และ Google Pixel XL จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างกันราว 350 แม้ว่าจะมีสเปกภายในที่ใกล้เคียงกันก็ตาม

ก่อนที่จะพักเรื่องค่าใช้จ่ายไว้เพียงเท่านี้ เคยสงสัยกันมั้ยว่า แล้วทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนนอกประเทศจีน จึงไม่ประกอบมือถือภายในประเทศตนเองไปเลย เพียงเท่านี้ก็ลดค่าใช้จ่ายได้แล้ว แต่จริงๆ แล้วยังมีเหตุผลที่ทำให้จีนเป็นเป็นศูนย์กลางการผลิตมือถือจากแบรนด์ทั่วโลกอยู่ เนื่องจากหากเราไปดูผลจิวัจจาก Deloitte จะเห็นได้ว่า จีนและสหรัฐฯ ขึ้นครองเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ในเรื่องของความสามารถในการแข่งขันระดับโลก รองลงมาเป็น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไต้หวัน ตามลำดับ

เมื่อลองเข้าไปดูข้อมูลเชิงลึกแล้ว จะเห็นว่า สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไต้หวันนั้น โดดเด่นในเรื่องของความสามารถด้านทักษะ และการส่งออกเทคโนโลยี ซึ่งนับรวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อหันกลับมามองที่จีนกลับไม่ใช่อย่างนั้น เนื่องจากได้มุ่งเน้นด้านการส่งออกเทคโนโลยีที่น้อยกว่า ทำให้มีแนวโน้มว่าประเทศจีนนั้นโฟกัสไปที่การสร้างสินค้านั่นเอง

อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดความแตกต่างในเรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ไล่ตั้งแต่ความสามารถ ไปจนถึงค่าแรง, ข้อกฏหมาย และโครงสร้างของแต่ละบริษัท โดยข้อได้เปรียบของประเทศจีนคือ Cost Competitiveness โดยข้อมูลส่วนนี้เคยมีการสำรวจจากเหล่า CEO ทั่วโลกที่ให้จัดอันดับประเทศต่างๆ ในเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต ซึ่งผลปรากฏว่า ในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ถูกนั้น จีนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยสัดส่วนถึง 96.3% เลยทีเดียว

Broadly speaking, Chinese factories operate at lower profit margins than those in the US. While this prevents them from filling smaller orders, big bulk orders can be produced in China at lower costs than in other countries, which helps to keep prices down. Combined with all of the factors we’ve just discussed, it makes it rather uneconomical to set up manufacturing operations in more expensive countries.

This all builds into a self-fulfilling situation where Chinese factories can scale up their production sizes, which ensures that bulk orders can be fulfilled whenever needed and in a timely manner, all of which also helps to push their costs down and encourage more bulk orders.

เพราะค่าแรงที่จีนถูกกว่า ?

เมื่อเราพูดถึงค่าใช้จ่ายด้านการผลิตในประเทศจีน หนึ่งในประเด็นที่หลายฝ่ายมักจะกล่าวถึงเสมอนั่นก็คือ ค่าแรงที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้มือถือจีนนั้นสามารถตั้งราคาที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งได้ โดยหากไปดูจากสถิติของ Salary Exploer ที่ได้สำรวจค่าแรงโดยเฉลี่ยของอาชีพต่างๆ ตามกลุ่มประเทศผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ จะเห็นได้ว่า จีนเป็นประเทศที่จ่ายค่าแรงให้พนักงานน้อยกว่าประเทศอื่นอย่างเห็นได้ชัด

โดยที่ประเทศจีนนั้น ตำแหน่ง Product Engineer จะได้รับเงินเดือนต่อปีโดยเฉลี่ยราว 30,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.06 ล้านบาท ต่างกับที่สหรัฐฯ มอบให้พนักงานต่อปีโดยเฉลี่ยเป็นจำนวนราว 2.6 ล้านบาทเลยทีเดียว ส่วนที่ไต้หวันค่อนข้างใกล้เคียงกับจีนอยู่ไม่น้อย ด้วยเงินเดือนโดยเฉลี่ยต่อปี 29,700 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.04 ล้านบาท

ถึงแม้ว่าข้อมูลชุดนี้จะเผยให้เห็นถึงค่าแรงของพนักงานในไต้หวันที่ถูกกว่าประเทศจีนเพียงเล็กน้อย แต่ยังคงมีความน่าสงสัยว่า เพราะเหตุใด HTC แบรนด์สมาร์ทโฟนที่มีฐานบริษัทอยู่ในประเทศไต้หวันเช่นเดียวกัน จึงตั้งราคาสมาร์ทโฟนของตนเองสูงกว่ามือถือจากประเทศจีน ซึ่งไม่แน่ว่าอาจมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น R&D หรือ ค่าโฆษณา ที่อาจนำมาคิดรวมเป็นราคามือถือเครื่องเดียวก็เป็นได้

หรือเป็นเพราะ แผนการตลาดแบบใหม่ของจีน ?

จริงๆ แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยต่อราคามือถือของจีน แต่เป็นสิ่งที่หลายคนอาจไม่ได้นึกถึงนั่นก็คือ แผนการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ ที่เหล่าผู้ผลิตสมาร์ทโฟนภายในประเทศจีนเลือกใช้นั่นเอง โดยบริษัทส่วนมากจะไม่ค่อยทุ่มงบไปกับการโฆษณาเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณานอกประเทศ แต่แบรนด์เหล่านี้มักจะไปร่วมเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ชิพของผู้ให้บริการด้านเครื่อข่ายในประเทศอื่นๆ และเลือกการวางจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์เท่าไหร่ ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว ราคามือถือจะถูกลงตามช่องทางที่วางจำหน่ายนั่นเอง นอกจากนี้ แบรนด์สมาร์ทโฟนของจีนยังนิยมวางขายผ่านทางเว็บไซต์ของตัวเอง รวมไปถึงการมอบโปรพิเศษเมื่อซื้อกับ retailer ทำให้ราคายิ่งถูกมากกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี การที่แบรนด์มือถือจีนเลือกวิธีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้ ทำให้ store สำหรับการวางจำหน่ายมือถือของตัวเองไม่ค่อยมีให้เห็นเท่าไหร่นัก และยิ่งเป็นการทำให้สินค้าเข้าไม่ถึงลูกค้ารายอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนกับแบรนด์ที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ การขยายตลาดยังสามารถทำได้ลำบากกว่า เนื่องจาก บริษัทจะสร้าง brand awareness (การรับรู้ถึงแบรนด์) ได้ยากกว่าเดิม รวมทั้งยังต้องสร้างช่องทางใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ด้วย

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าแบรนด์สมาร์ทโฟนจากจีนจะประสบความสำเร็จในประเทศ รวมไปถึงอินเดีย และตลาดอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ผ่านการวางขายแบบ Flash sale แต่ทว่าภายในตลาดรายใหญ่อย่างสหรัฐฯ ยังคงไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนของจีนรายใหญ่ จึงเริ่มเข้าไปปูพรมในตลาดตามทวีปต่างๆ อย่างยุโรป ด้วยการเปิด store ของตัวเองให้เห็นกันบ้างแล้ว แต่ก็ต้องแลกด้วยราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม

 

--------------------------------------- 
ที่มา : Android Authority

แปลและเรียบเรียง : techmoblog.com

 

 

Update : 10/04/2017






Cookie Consent

Our website uses cookies to provide your browsing experience and relavent informations.Before continuing to use our website, you agree & accept of our Cookie Policy & Privacy