หน้าแรก >> ข่าวทั้งหมด >> อ่านบทความ/ข่าว

[พรีวิว] Redmi Note 9 สมาร์ทโฟนรุ่นสุดคุ้ม มาพร้อมชิป Helio G85, RAM 4 GB, กล้องหลัง 4 ตัว 48MP พร้อมแบตอึดจุใจ 5,020 mAh บนดีไซน์ DotDisplay 6.53 นิ้ว เริ่มต้นเพียง 4,999.-

เปิดตัวและวางจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ Redmi Note 9 Series สมาร์ทโฟนรุ่นสุดคุ้มจากแบรนด์ Redmi ซึ่งเป็นแบรนด์ลูกของ Xiaomi นั่นเอง การันตีในเรื่องของความคุ้มค่าที่มาพร้อมกับสเปกครบครัน พร้อมดีไซน์สวยทันสมัย และใช้วัสดุที่มีคุณภาพดี โดยเปิดตัวทั้งหมด 2 รุ่นด้วยกัน นั่นก็คือ Redmi Note 9 และ Redmi Note 9 Pro พร้อมชูจุดเด่นในเรื่องของสเปกที่คุ้มค่าเกินราคาค่าตัว เพราะรุ่นนี้เคาะราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 4,999 บาท เท่านั้น

สำหรับ Redmi Note 9 Series ที่ทีมงาน techmoblog.com จะมาพรีวิวในวันนี้ ก็คือ Redmi Note 9 ซึ่งมาพร้อมกับสเปกแบบครบเครื่อง โดยชูจุดเด่นหลัก ๆ ทั้งหมด 5 ส่วนด้วยกัน นั่นก็คือ หน้าจอแสดงผล, ชิปประมวลผล, กล้องถ่ายรูป, แบตเตอรี่ และราคา ที่โดยรวมแล้วถือว่าคุ้มค่ากว่าสมาร์ทโฟนคู่แข่งที่มีระดับราคาใกล้เคียงกัน

Redmi Note 9 มาพร้อมกับดีไซน์แบบ DotDisplay ฝังกล้องด้านหน้า ความละเอียด 13 ล้านพิกเซลไว้ที่มุมบนซ้าย โดยมีขนาดหน้าจออยู่ที่ 6.53 นิ้ว ความละเอียด 2340 x 1080 พิกเซล (FHD+) บนอัตราส่วน 19:5:9 พร้อมกระจกหน้าจอแบบ Gorilla Glass 5 ป้องกันรอยขีดข่วน และรองรับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ด้านหลังตัวเครื่อง

ด้านการประมวลผล Redmi Note 9 คือสมาร์ทโฟนรุ่นแรกของโลกที่มาพร้อมกับชิปเซ็ต MediaTek Helio G85 ซึ่งเป็นชิปเซ็ตด้านเกมมิ่งอันทรงพลัง เร็วและแรงกว่าชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 665 บน Redmi Note 8 รุ่นก่อน พร้อมหน่วยความจำสูงสุดที่ 4 GB, หน่วยความจำ ROM สูงสุดที่ 128 GB อีกทั้งยังมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาดความจุมากถึง 5,020 mAh รองรับการใช้งานได้อย่างยาวนาน และรองรับระบบการชาร์จเร็วขนาด 18W อีกด้วย

ด้านการถ่ายภาพนั้น ถือว่า Redmi Note 9 ไม่เป็นรองใครเช่นกัน ซึ่งรุ่นนี้มาพร้อมกับกล้องด้านหลังมากถึง 4 ตัว (Quad Camera) ประกอบด้วย กล้องหลัก ความละเอียด 48 ล้านพิกเซล, เลนส์ Ultra Wide ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล, เลนส์ Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และ Depth Sensor ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล เก็บภาพได้ครบทุกมุมมองในรุ่นเดียว

เรียกได้ว่า แค่สเปกในเบื้องต้น ก็ทำให้ Redmi Note 9 รุ่นนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย แต่ด้านการใช้งานจะคุ้มค่าคุ้มราคาแค่ไหนนั้น มาพิสูจน์ไปพร้อม ๆ กันกับ พรีวิว Redmi Note 9 โดยทีมงาน techmoblog.com

 

สเปก Redmi Note 9
  • หน้าจอแสดงผลกว้าง 6.53 นิ้ว แบบ DotDisplay Capacitive Touchscreen 16.7 ล้านสี ความละเอียด 2340 x 1080 พิกเซล
  • ชิปเซ็ต MediaTek Helio G85 แบบ Octa-Core Processor ความเร็ว 2.0 GHz
  • ชิปประมวลผลภาพกราฟิก ARM Mali-G52 GPU
  • หน่วยความจำ RAM ขนาด 3 GB หรือ 4 GB
  • หน่วยความจำ ROM ขนาด 64 GB หรือ 128 GB รองรับ microSD Card สูงสุด 512 GB
  • กล้องด้านหน้าแบบ In-Display ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล (F/2.2)
  • กล้องด้านหลัง 4 ตัว (Quad Camera) ประกอบด้วย
    • เลนส์หลัก ความละเอียด 48 ล้านพิกเซล (F/1.79)
    • เลนส์ Ultra Wide ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล (F/2.2), มุมมองกว้าง 118 องศา
    • เลนส์ Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
    • Depth Sensor ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
  • แบตเตอรี่แบบ Li-Ion 5,020 mAh รองรับระบบชาร์จเร็วขนาด 18W
  • รองรับ Bluetooth เวอร์ชัน 5.0
  • รองรับ Wi-Fi 802.11ac แบบ Dual Band (2.4 และ 5 GHz) และ 4G LTE
  • เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ด้านหลังตัวเครื่อง
  • รองรับการปลดล็อกตัวเครื่องด้วย Face Unlock
  • รองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ด (Triple Slot)
  • ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 และอินเทอร์เฟส MIUI 11

>> สเปก Redmi Note 9 อย่างละเอียด คลิกที่นี่

 

พรีวิว Redmi Note 9 : ดีไซน์ และการออกแบบ

เริ่มต้นกันที่การแกะกล่องตัวเครื่องกันก่อนว่า Redmi Note 9 แถมอะไรมาให้บ้าง หลัก ๆ ก็จะมี ตัวเครื่อง Redmi Note 9, ใบรับประกัน, คู่มือการใช้งาน, เข็มสำหรับจิ้มถาดใส่ซิมการ์ด, Wall Charge, สาย USB-C และเคสซิลิโคน ซึ่งจะไม่มีหูฟังแถมมาให้ อันนี้ต้องซื้อเพิ่มเอง หรือใช้ของเดิมที่มีอยู่ได้ เพราะ Redmi Note 9 รองรับหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ Redmi Note 9 จะรองรับระบบชาร์จเร็วขนาด 18W แต่ตัว Wall Charge ที่แถมมาให้ในกล่องนั้น รองรับสูงสุดถึง 22.5W เลยทีเดียว

 

ส่วนเคสซิลิโคนนั้น จะเป็นสีดำกึ่งใส พร้อมจุกปิดพอร์ต USB-C ที่ด้านล่าง

 

Redmi Note 9 มาพร้อมกับหน้าจอแบบ DotDisplay ขนาด 6.53 นิ้ว ความละเอียด 2340 x 1080 พิกเซล บนอัตราส่วนขนาด 19:5:9 โดยเป็นกระจกหน้าจอแบบ Corning Gorilla Glass 5 ป้องกันรอยขีดข่วน อีกทั้งยังได้รับการรับรองจากทาง TÜV Rheinland ด้วยว่า เป็นหน้าจอที่มีแสงสีฟ้าในระดับต่ำ (Low Blue Light)

 

ด้านบนของหน้าจอแสดงผล เป็นกล้องด้านหน้าแบบ In-Display ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ซึ่งรองรับการถ่ายภาพแบบ Portrait Selfie, Panorama Selfie, จับภาพด้วยฝ่ามือ (Palm Shutter) และ Face Unlock ส่วนลำโพงสำหรับสนทนาจะอยู่ตรงขอบตัวเครื่องด้านบน

 

ด้านล่างของหน้าจอแสดงผล เป็นปุ่มควบคุมการทำงานแบบสัมผัส ประกอบด้วย ปุ่ม Recent Apps, ปุ่ม Home และปุ่มย้อนกลับ โดยรุ่นนี้จะเหลือขอบด้านล่างเล็กน้อย

 

ด้านขวาของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่ม Power และปุ่มปรับระดับเสียง

 

ส่วนด้านซ้ายของตัวเครื่อง เป็นถาดใส่ซิมการ์ดแบบ Triple Slot สามารถใส่ซิมการ์ดที่ 1, ซิมการ์ดที่ 2 และ microSD Card ได้พร้อมกัน ซึ่งรุ่นนี้รองรับ microSD Card สูงสุดที่ 512 GB

 

ด้านบนตัวเครื่อง เป็นไมโครโฟนตัวที่สอง และ IR Blaster ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณแบบอินฟราเรด ทำให้ Redmi Note 9 รุ่นนี้สามารถใช้งานเป็นรีโมตคอนโทรลเพื่อควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน Remote Mi นั่นเอง

 

ส่วนด้านล่างของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ช่องหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร, ไมโครโฟนตัวหลักสำหรับสนทนา, พอร์ต USB-C และลำโพงเสียง

 

สำหรับ Redmi Note 9 รุ่นที่นำมาพรีวิวในครั้งนี้ เป็นตัวเครื่องสี Midnight Grey ซึ่งจะออกโทนน้ำเงินอมเทา ฝาหลังเป็นพลาสติกผิวสัมผัสเรียบ ทำให้ติดรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่าย ซึ่งการใส่เคสจะช่วยลดเรื่องรอยนิ้วมือได้ ส่วนกล้องด้านหลังมีดีไซน์คล้ายกับรุ่น Redmi Note 9s แต่รุ่นนี้จะมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ด้านหลังตัวเครื่อง โดยรายละเอียดของกล้องด้านหลังทั้ง 4 ตัว เป็นดังนี้

  • เลนส์หลัก ความละเอียด 48 ล้านพิกเซล (F/1.79), เซ็นเซอร์ขนาด 1/2", 1.6μm 4-in-1 Super Pixel
  • เลนส์ Ultra Wide ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล (F/2.2), มุมมองกว้าง 118 องศา
  • เลนส์ Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล (ระยะโฟกัสที่ 2-10 เซนติเมตร)
  • Depth Sensor ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล

 

นอกจาก Redmi Note 9 แล้ว อีกรุ่นที่เปิดตัวพร้อมกัน นั่นก็คือ Redmi Note 9 Pro ซึ่งรุ่นนี้ถือว่า ทั้งดีไซน์และสเปกถอดแบบมาจาก Redmi Note 9s ที่เปิดตัวมาก่อนหน้านั้น ต่างกันแค่กล้องด้านหลังที่ Redmi Note 9 Pro มีความละเอียดมากกว่า แต่เมื่อเทียบกับ Redmi Note 9 แล้วถือว่าต่างกันหลายจุดด้วยกัน สรุปได้ดังนี้

  • Redmi Note 9 Pro มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 6.67 นิ้ว แบบ DotDisplay ความละเอียด 2400 x 1080 พิกเซล (จอใหญ่กว่า Redmi Note 9)
  • Redmi Note 9 Pro ใช้ชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 720G
  • ตำแหน่งกล้องหน้าของ Redmi Note 9 Pro อยู่ตรงกลาง ละเอียดกว่าที่ 16 ล้านพิกเซล
  • กล้องด้านหลังของ Redmi Note 9 Pro มี 4 ตัวและชนิดของเลนส์เหมือนกับ Redmi Note 9 แต่ละเอียดกว่าอยู่ที่ 64 ล้านพิกเซล
  • แบตเตอรี่ขนาดความจุเท่ากัน แต่ Redmi Note 9 Pro รองรับระบบชาร์จเร็วสูงสุดที่ 30W
  • เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือบน Redmi Note 9 Pro อยู่ด้านข้างตัวเครื่อง (ปุ่ม Power)
  • ราคาเริ่มต้นที่ 7,999 บาท (RAM 6 GB + ROM 64 GB)

 

พรีวิว Redmi Note 9 : อินเทอร์เฟส และการใช้งานเบื้องต้น

Redmi Note 9 จะมีให้เลือก 2 รุ่นย่อย นั่นก็คือ รุ่น RAM 3 GB + ROM 64 GB กับรุ่น RAM 4 GB + ROM 128 GB โดยรุ่นที่ทีมงานนำมาพรีวิวในครั้งนี้ เป็น Redmi Note 9 รุ่น RAM 4 GB ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 และอินเทอร์เฟส MIUI เวอร์ชัน 11

 

สำหรับอินเทอร์เฟส MIUI เวอร์ชัน 11 มีความสะอาดตา และออกแบบได้เรียบง่ายมากขึ้น แม้จะเพิ่งใช้ Redmi Note 9 เป็นครั้งแรกก็สามารถเข้าใจการทำงานต่าง ๆ ได้ง่าย โดยรุ่นนี้ไม่มี App Drawer ทำให้แอปพลิเคชันที่ถูกดาวน์โหลดมานั้นอยู่ในหน้า Home Screen ทั้งหมด แต่สามารถจัดเรียงให้เป็นหมวดหมู่ได้ด้วยการสร้างโฟลเดอร์ เบื้องต้นนั้น มีการติดตั้งแอปพลิเคชันและบริการต่าง ๆ จาก Google มาให้อย่างครบถ้วน รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

 

สามารถเลือกเปลี่ยนธีม, วอลเปเปอร์ หรือ Widget ได้ตามสไตล์การใช้งาน

 

นอกจากนี้ ยังสามารถตั้งค่าหน้าจอหลักได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เอฟเฟกต์เปลี่ยน (สไลด์, จางหาย, ตีลังกา, พลิกหน้า), ตั้งค่าหน้าจอเริ่มต้น, รูปแบบหน้าจอหลัก (4x6, 5x6), ขนาดไอคอน และอื่น ๆ

 

การปัดจากขอบจอด้านบน จะเข้าสู่ทางลัดการตั้งค่าที่ใช้งานบ่อย เช่น Wi-Fi, Bluetooth, ไฟฉาย, โหมดเครื่องบิน, ล็อกการหมุนหน้าจอ, ปรับระดับความสว่างของหน้าจอ และอื่น ๆ ซึ่งสามารถเพิ่มเมนูทางลัดอื่น ๆ ได้ที่ปุ่มแก้ไข ส่วนด้านล่างจะเป็นการแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ

 

มาดูกันที่การตั้งค่าการใช้งานทั่วไปกันบ้าง โดย Redmi Note 9 รุ่นนี้ รองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ดแบบ Dual 4G สามารถใช้งานเครือข่าย 4G LTE ได้ทั้ง 2 ซิมการ์ด รวมถึงรองรับ Wi- Fi 802.11 ac ความถี่แบบ Dual Band (2.4 และ 5 GHz)

 

ในส่วนของการล็อกหน้าจอ สามารถเปิดการใช้งานฟีเจอร์แตะหน้าจอ 2 ครั้งติดกันเพื่อปลุกหน้าจอ รวมถึงเปลี่ยนฟอร์แมตนาฬิการบนหน้าจอล็อกได้ 3 รูปแบบ (ตรงกลาง, ชิดซ้าย, แนวตั้ง)

 

รองรับโหมดมืด ด้วยการเปลี่ยนสีพื้นหลังของระบบและแอปพลิเคชันที่รองรับฟีเจอร์นี้เป็นโทนสีที่เข้มขึ้น ทำให้ใช้งานได้สบายตามากขึ้นโดยเฉพาะในที่แสงน้อย

 

โหมดอ่าน หรือโหมดลดแสงสีฟ้า ด้วยการปรับสีบนหน้าจอให้เป็นสีเหลืองนวล เพื่อลดอาการล้าที่ดวงตาเมื่อใช้เป็นเวลานาน ๆ หรือใช้ในที่แสงน้อย

 

ผู้ใช้สามารถเลือกซ่อนหรือไม่ซ่อนรอยบากได้ด้วยเช่นกัน โดยถ้าหากเลือกแบบซ่อนรอยบาก จะมีให้เลือก 2 แบบ นั่นก็คือ ซ่อนโดยไม่ย้ายแถบสถานะ กับซ่อนและย้ายแถบสถานะ

 

ด้านความปลอดภัยและการปลดล็อกตัวเครื่อง รองรับทั้งการสแกนลายนิ้วมือ (ด้านหลังตัวเครื่อง) และระบบการจดจำใบหน้า (Face Unlock)

 

จุดเด่นอีกอย่างของ Redmi Note 9 ก็คือ มาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาดความจุมากถึง 5,020 mAh ซึ่งจะเห็นว่า ปริมาณแบตเตอรี่เหลือ 75% สามารถเปิดสแตนบายด์ได้อีกประมาณ 33 ชั่วโมง แต่ถ้าหากเปิดโหมดประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ จะใช้งานได้นาน 50 ชั่วโมงเลยทีเดียว

 

สำหรับปุ่มควบคุมการทำงานแบบสัมผัสด้านล่างนั้น สามารถเปลี่ยนเป็นการควบคุมการทำงานด้วยท่าทางสัมผัสก็ได้เช่นกัน โดยจะใช้วิธีการปัดแทน เช่น ปัดจากด้านล่างเพื่อกลับสู่หน้า Home Screen หรือปัดจากด้านข้าง (ซ้าย-ขวา) เพื่อย้อนกลับไปเมนู/แอปฯ ก่อนหน้า

 

สำหรับเมนูไลฟ์สไตล์ดิจิทัลและการควบคุมโดยผู้ปกครอง เป็นเครื่องมือสรุปการใช้งานของผู้ใช้ว่า ในแต่ละวันใช้งานแอปฯ อะไรไปบ้าง, ใช้เวลาไปทั้งหมดเท่าไหร่, ปลดล็อกหน้าจอกี่รอบ รวมถึงมีการแจ้งเตือนทั้งหมดกี่ครั้ง โดยเป็นเครื่องมือควบคุมไม่ให้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากจนเกินไปนั่นเอง

 

นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์พักผ่อน เพื่อหยุดการแจ้งเตือนต่าง ๆ รวมถึงสายเรียกเข้าในขณะนอนหลับ โดยเมื่อเปิดใช้งานโหมดนี้ อินเทอร์เฟสจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ซึ่งจะทำให้ความอยากเล่นสมาร์ทโฟนนั้นลดลง

ส่วนโหมดโฟกัส จะเป็นการปิดกั้นบางแอปฯ ชั่วคราวเมื่อต้องการใช้เวลากับสิ่งที่ต้องการสมาธิ

 

สำหรับฟีเจอร์พื้นที่ทับซ้อน เป็นการแบ่งพื้นที่ตัวเครื่องออกเป็น 2 ส่วนเพื่อแยกการทำงานกัน และสามารถใช้การสแกนลายนิ้วมือเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงพื้นที่ทั้ง 2 ส่วนได้

 

โหมด Lite จะปรับขนาดไอคอนให้ใหญ่ขึ้น ข้อความขนาดใหญ่ และมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น

 

แอปพลิเคชันทำความสะอาด และแอปพลิเคชันความปลอดภัย เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ตัวเครื่องประมวลผลได้เร็วขึ้น และใช้งานได้ลื่นไหลมากขึ้น ด้วยการลบ Cache, ไฟล์ขยะต่าง ๆ ที่มีในเครื่อง รวมถึงสแกนด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีเมนูย่อยอื่น ๆ เช่น แอปโคลน, รายการบล็อก, ล็อกแอป, ShareMe และอื่น ๆ

 

แอปพลิเคชันเพลง มีการออกแบบเรียบง่าย มาพร้อมเครื่องมือตัดเสียงสำหรับใช้เป็นเสียงเรียกเข้าได้ และสามารถใช้งานแบบโหมดมืดได้

 

ในกรณีที่คลิปวิดีโอไม่ได้อยู่ในอัตราส่วน 19:5:9 จะเหลือขอบดำซ้ายและขวา แต่สามารถขยายเพื่อแบบเต็มหน้าจอได้เช่นกัน

 

เปลี่ยน Redmi Note 9 ให้เป็นรีโมทคอนโทรลเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ผ่านทางแอปพลิเคชัน รีโมท Mi

 

มาทดสอบประสิทธิภาพในการเล่นเกมกันบ้าง ซึ่ง Redmi Note 9 รุ่นที่นำมาพรีวิวนี้ มาพร้อมกับชิปเซ็ต MediaTek Helio G85 แบบ Octa-Core Processor ความเร็ว 2.0 GHz, ชิปประมวลผลภาพกราฟิก ARM Mali-G52 GPU, หน่วยความจำ RAM ขนาด 4 GB และหน่วยความจำ ROM ขนาด 128 GB ทีมงานเลือกทดสอบ 3 เกมยอดนิยม นั่นก็คือ ROV, Blade & Soul Revolution และ PUBG Mobile ด้วยการปรับกราฟิกให้อยู่ในระดับ HD พบว่า เล่นได้ลื่นไหล ไม่กระตุก อีกทั้งยังมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาดความจุถึง 5,020 mAh ทำให้เล่นเกมได้ยาวนานขึ้น ตัวเครื่องมีการสะสมความร้อนบ้างในขณะเล่นเกม แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งาน

 

ทดสอบ Benchmark ด้วยโปรแกรม Geekbench 5 ทำได้ 355 คะแนน (Single-Core) และ 1,302 คะแนน (Multi-Core) ส่วนการทดสอบด้วยโปรแกรม AnTuTu ทำได้ 207,404 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนในระดับปานกลาง

 

ทดสอบประสิทธิภาพของการประมวลผลด้านกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark พบว่า Redmi Note 9 ทำคะแนนทดสอบ Sling Shot Extreme - OpenGL ES 3.1 ได้ 1,376 คะแนน และคะแนนทดสอบ Sling Shot Extreme - Vulkan ได้ 1,378 คะแนน

โปรแกรม AndroBench ทดสอบประสิทธิภาพของหน่วยความจำภายในตัวเครื่อง พบว่า ทำความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 319.09 MB/s และความเร็วในการเขียนข้อมูลที่ 268.2 MB/s

 

ส่วนเซ็นเซอร์ที่รองรับบน Redmi Note 9 ได้แก่ Accelerometer Sensor, Light Sensor, Orientation Sensor, Proximity Sensor, Gyroscope Sensor, Sound Sensor และ Magnetic Sensor

 

พรีวิว Redmi Note 9 : กล้องถ่ายรูป

Redmi Note 9 มาพร้อมกับกล้องด้านหลังถึง 4 ตัว (Quad Camera) ซึ่งประกอบด้วย เลนส์หลัก ความละเอียด 48 ล้านพิกเซล, เลนส์ Ultra Wide ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล, เลนส์ Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และ Depth Sensor ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล โดยมีโหมดถ่ายภาพให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น รูปถ่าย, 48M, ภาพบุคคล, กลางคืน, Panorama, โปร และ Macro รวมถึงโหมดถ่ายวิดีโอ ได้แก่ สโลโมชั่น, วิดีโอสั้น และวิดีโอ

สำหรับโหมดรูปถ่าย จะเลือกถ่ายได้ 3 มุมมอง นั่นก็คือ มุมมองกว้าง (0.6x), มุมมองปกติ (1x) และแบบซูม (2x) อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ กล้อง AI ที่จะปรับแต่งรูปภาพให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด

 

รองรับฟีเจอร์ HDR (ปิด, อัตโนมัติ, เปิด) และไฟแฟลช (ปิด, อัตโนมัติ, เปิด, ไฟฉาย)

 

ใส่ฟีเจอร์ให้กับภาพถ่ายได้มากถึง 14 แบบ

 

โหมด 48M เป็นโหมดถ่ายภาพความละเอียดสูง ซึ่งภาพที่ถ่ายด้วยโหมดนี้เมื่อซูมภาพแล้วจะมีความคมชัดกว่าการถ่ายภาพด้วยโหมดปกติ แต่โหมดนี้จะรองรับเฉพาะเลนส์ Wide เพียงเลนส์เดียว ไม่สามารถถ่ายแบบมุมกว้างได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่ฟิลเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน

 

โหมดโปร สำหรับปรับแต่งฟังก์ชันการถ่ายภาพด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น White Balance, ระยะโฟกัส, ความเร็วชัดเตอร์, ISO, ชดเชยแสง และเลือกเลนส์ (โหมดกล้อง) สำหรับถ่ายภาพได้

 

การถ่ายวิดีโอ จะมีให้เลือกใช้งาน 3 โหมดหลัก ๆ ก็คือ โหมดวิดีโอ, สโลโมชั่น และวิดีโอสั้น ซึ่งโหมดวิดีโอนั้น รองรับการถ่ายแบบมุมมองปกติ (1x) และซูม 2x

 

โหมดวิดีโอสั้น เป็นการถ่ายคลิปวิดีโอความยาว 15 วินาที สามารถเลือกปรับระดับความเร็วของคลิปได้ รวมถึงมีลูกเล่นที่เรียกว่า ภาพลานตา กับเอฟเฟกต์รูปแบบต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับวิดีโอได้

 

นอกจากนี้ยังมี Google Lens ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาสิ่งที่เห็นด้วยการใช้กล้องถ่ายรูป ยกตัวอย่างเช่น เห็นต้นไม้รูปร่างแปลกตา ก็อยากจะทราบว่าคือต้นไม้ชนิดใด ก็แค่ยกมือถือขึ้นมาถ่าย จากนั้นระบบจะทำการค้นหาข้อมูลให้อัตโนมัติ

 

สำหรับการตั้งค่ากล้องของการถ่ายภาพนิ่ง ก็ได้แก่ ลายน้ำ, แก้ไขความผิดเพี้ยนของภาพมุมกว้าง (อัตโนมัติ), แก้ไขใบหน้าที่บิดเบี้ยวของคนที่อยู่ใกล้ขอบเฟรม, คุณภาพของภาพถ่าย, ตั้งค่าปุ่มเพิ่มลดเสียง, เพิ่มพิกัด, เปิด-ปิดเสียงชัตเตอร์ และอื่น ๆ

 

ส่วนโหมดถ่ายวิดีโอ สามารถเลือกคุณภาพของวิดีโอได้ 2 รูปแบบ (1080p 30fps, 720p 30fps), แสดงตาราง, กรอบภาพยนตร์, ปรับความเร็วของวิดีโอ, เปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหว, ใส่แท็ก และอื่น ๆ

 

สำหรับกล้องด้านหน้า มาพร้อมความละเอียด 13 ล้านพิกเซล (F/2.2) ซึ่งการถ่ายภาพนิ่งด้วยกล้องด้านหน้า จะใช้งานได้ 3 โหมดหลัก ๆ ก็คือ รูปถ่าย, ภาพบุคคล, Panorama ส่วนการถ่ายภาพเคลื่อนไหว รองรับ 2 โหมด คือ วิดีโอ และ วิดีโอสั้น ซึ่งมีฟีเจอร์การใช้งานเหมือนกับกล้องด้านหลัง

โดยโหมดรูปถ่าย มาพร้อมกับฟีเจอร์บิวตี้ ที่สามารถปรับผิวเนียน, หน้าเรียว และตาโตได้ รวมถึงใส่ฟิลเตอร์ให้กับภาพถ่ายได้อีกหลากหลายรูปแบบ

 

รองรับฟีเจอร์ HDR (ปิด, อัตโนมัติ, เปิด) และไฟแฟลช ซึ่งจะใช้แสงสว่างของหน้าจอมาเป็นไฟแฟลชนั่นเอง

 

ส่วนโหมดภาพบุคคล เป็นการถ่ายภาพแบบหน้าชัดหลังเบลอ รองรับฟีเจอร์บิวตี้ และฟิลเตอร์ภาพถ่ายเช่นกัน

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหน้า โหมดบิวตี้
ปรับผิวเนียน 50%

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหน้า โหมดบิวตี้
ปรับผิวเนียน 50%

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหน้า โหมดบิวตี้
ปรับผิวเนียน 100%

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหน้า โหมดบิวตี้
ปรับผิวเนียน 100%

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหน้า โหมดภาพบุคคล

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหน้า โหมดภาพบุคคล

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองปกติ

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง มุมมองกว้าง (Ultra Wide)

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมด Macro

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมด Macro

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมดภาพบุคคล

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมดภาพบุคคล

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมดภาพบุคคล

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมดภาพบุคคล

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมดกลางคืน

 

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องด้านหลัง โหมดกลางคืน

 

บทสรุปการใช้งาน

ถ้าหากเปรียบเทียบกับสมาร์ทโฟนรุ่นคู่แข่งที่มีระดับราคา 5,000 - 6,000 บาท ปฏิเสธไม่ได้ว่า Redmi Note 9 เป็นรุ่นที่มีความคุ้มค่าไม่น้อย จะเห็นได้จากสเปกบางอย่างที่ใกล้เคียงกับมือถือระดับกลางด้วยซ้ำไป แต่มีราคาค่าตัวที่ถูกกว่ามาก เพราะนอกจากจะได้ทั้งสมาร์ทโฟนจอใหญ่ถึง 6.53 นิ้ว ความละเอียดระดับ FHD+ แล้ว ยังตอบสนองต่อการใช้งานได้ดีไม่มีสะดุดด้วยชิปเซ็ต MediaTek Helio G85 พร้อมหน่วยความจำ RAM สูงสุดที่ 4 GB และแบตเตอรี่ขนาด 5,020 mAh รองรับการใช้งานได้อย่างยาวนาน รวมถึงกล้องถ่ายรูปที่มาพร้อมกับเลนส์แบบครบช่วงในรุ่นเดียว

แต่ถ้าหากมองหาสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับสเปกที่รองรับการเล่นเกมได้ดีขึ้น ในซีรี่ส์ Redmi Note 9 ก็ยังมีอีกรุ่นให้เลือก นั่นก็คือ Redmi Note 9 Pro ซึ่งรุ่นนี้จะมาพร้อมกับหน้าจอขนาด 6.67 นิ้ว, ชิปประมวลผล Qualcomm Snapdragon 720G, หน่วยความจำ RAM ขนาด 6 GB และกล้องด้านหลัง 4 ตัว ความละเอียด 64 ล้านพิกเซล เคาะราคาเริ่มต้นที่ 7,999 บาท ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่าหมื่นที่คุ้มค่าอีกรุ่นเช่นกัน

 

Redmi Note 9 จะมีให้เลือกทั้งหมด 3 สี ได้แก่ Midnight Grey, Forest Green, Polar White เช่นเดียวกันกับ Redmi Note 9 Pro ก็มีให้เลือก 3 สี ได้แก่ Interstellar Grey, Glacier White, Tropical Green ซึ่งราคาของทั้ง 2 รุ่น มีรายละเอียดดังนี้

  • Redmi Note 9 (RAM 3 GB / ROM 64 GB) ราคา 4,999 บาท (Online Exclusive)
  • Redmi Note 9 (RAM 4 GB / ROM 128 GB) ราคา 6,499 บาท
  • Redmi Note 9 Pro (RAM 6 GB / ROM 64 GB) ราคา 7,999 บาท (Online Exclusive)
  • Redmi Note 9 Pro (RAM 6 GB / ROM 128 GB) ราคา 9,999 บาท

 

โดย Redmi Note 9 วางจำหน่ายแล้วผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, JD Central และ Shopee รวมถึงร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ

 

จุดเด่นของ Redmi Note 9

  • เปิดตัวด้วยราคาสุดประหยัด เริ่มต้นที่ 4,999 บาทเท่านั้น
  • หน้าจอแสดงผลกว้าง 6.53 นิ้ว แบบ DotDisplay ความละเอียด 2340 x 1080 พิกเซล
    • ระดับความสว่าง 450 nits
    • อัตราส่วน 19:5:9
    • รองรับ Reading Mode 2.0
    • ได้รับการรับรองจากทาง TÜV Rheinland ด้วยว่า เป็นหน้าจอที่มีแสงสีฟ้าในระดับต่ำ (Low Blue Light)
    • กระจกหน้าจอ Corning Gorilla Glass 5
  • ชิปเซ็ต MediaTek Helio G85 แบบ Octa-Core Processor ความเร็ว 2.0 GHz
  • ชิปประมวลผลภาพกราฟิก ARM Mali-G52 GPU
  • หน่วยความจำ RAM ขนาด 4 GB
  • หน่วยความจำ ROM ขนาด 128 GB รองรับ microSD Card สูงสุด 512 GB
  • กล้องด้านหน้าแบบ In-Display ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล (F/2.2)
  • กล้องด้านหลัง 4 ตัว (Quad Camera) ประกอบด้วย
    • เลนส์หลัก ความละเอียด 48 ล้านพิกเซล (F/1.79)
    • เลนส์ Ultra Wide ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล (F/2.2), มุมมองกว้าง 118 องศา
    • เลนส์ Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
    • Depth Sensor ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
  • แบตเตอรี่แบบ Li-Ion 5,020 mAh รองรับระบบชาร์จเร็วขนาด 18W
  • รองรับ Bluetooth เวอร์ชัน 5.0
  • รองรับ Wi-Fi 802.11ac แบบ Dual Band (2.4 และ 5 GHz) และ 4G LTE
  • เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ด้านหลังตัวเครื่อง
  • รองรับการปลดล็อกตัวเครื่องด้วย Face Unlock
  • รองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ด (Triple Slot) และรองรับเครือข่าย 4G LTE ทั้ง 2 ซิม
  • มีช่องหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร
  • รองรับโหมดมืด ด้วยการเปลี่ยนสีพื้นหลังของระบบและแอปพลิเคชันที่รองรับฟีเจอร์นี้เป็นโทนสีที่เข้มขึ้น ทำให้ใช้งานได้สบายตามากขึ้นโดยเฉพาะในที่แสงน้อย
  • โหมดลดแสงสีฟ้า ด้วยการปรับสีบนหน้าจอให้เป็นสีเหลืองนวล เพื่อลดอาการล้าที่ดวงตาเมื่อใช้เป็นเวลานาน ๆ หรือใช้ในที่แสงน้อย
  • พอร์ตการเชื่อมต่อแบบ USB-C
  • สามารถใช้งานเป็นรีโมตคอนโทรลสำหรับควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านทางแอปพลิเคชัน Remote Mi
  • ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 10 และอินเทอร์เฟส MIUI 11

 

*บทความนี้เป็น Advertorial

 

 

------------------------------------

บทความพรีวิวโดย : techmoblog.com

Update : 14/07/2020





Cookie Consent

Our website uses cookies to provide your browsing experience and relavent informations.Before continuing to use our website, you agree & accept of our Cookie Policy & Privacy