หน้าแรก >> ข่าวทั้งหมด >> อ่านบทความ/ข่าว

พาไปดู "มือถือไร้แบต" เครื่องแรกของโลก โทรหากันได้ไม่ต้องชาร์จให้เสียเวลา ผลงานจากทีมวิจัยของ University of Washington

 

ทีมวิศวกรจาก University of Washington นำโดย Shyam Gollakota และ Vamsi Talla ประสบความสำเร็จในการค้นคว้าวิจัยและประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือที่ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เครื่องแรกของโลก โดยเปลี่ยนไปใช้การดึงพลังงานจากสภาพแวดล้อมเช่นจากสัญญาณวิทยุและแสงสว่างจากแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กแทนการใช้พลังงานจากแบตเตอรีแบบเดิม ซึ่งมือถือเครื่องนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าแค่ 3.5 ไมโครวัตต์เท่านั้นในการโทร

“การที่จะทำให้อุปกรณ์ใช้พลังงานน้อยที่สุด คุณจะต้องให้มันดึงเอาพลังงานจากสภาพแวดล้อมมาใช้แทน เราจึงต้องรื้อแนวคิดการดีไซน์ของอุปกรณ์แบบนี้ใหม่ทั้งหมด” Shyam Gollakota กล่าว

ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการคิดค้นมือถือไร้แบต คือการหาวิธีแปลงสัญญาณเสียงแบบอื่นมาใช้แทนการแปลงเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งทีมวิจัยเลือกใช้ประโยชน์จากการสั่นสะเทือนแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในไมโครโฟน ด้วยการใช้เสาอากาศเป็นตัวรับคลื่นการสั่นสะเทือนแล้วแปลงเป็นคลื่นวิทยุ วิธีนี้แทบไม่ต้องใช้พลังงานเลย ข้อเสียเพียงอย่างเดียวก็คือ ผู้ใช้ต้องกดปุ่มเพื่อสลับระหว่างโหมดพูดและโหมดฟัง (เหมือนวิทยุสื่อสาร) จากการทดสอบ ทีมวิจัยสามารถโทรหากันได้ แม้กระทั่ง Skype กันก็ยังได้


โฉมหน้าทีมวิจัยโครงการมือถือไร้แบต

 

ตอนนี้มือถือไร้แบตยังต้องใช้สถานีรับส่งสัญญาณแบบพิเศษเพื่อโทรติดต่อกัน แต่ทีมวิจัยกล่าวว่าข้อจำกัดนี้ไม่ถือเป็นอุปสรรคเสียทีเดียว เพราะในอนาคตสามารถเอาสถานีรับส่งสัญญาณไปติดตั้งบนเสาโทรศัพท์หรือเสาสัญญาณ WiFi ก็ได้ นั่นหมายความว่า ทุกบ้านที่มีเราเตอร์ WiFi จะสามารถใช้งานมือถือไร้แบตได้สบาย

อย่างไรก็ตาม มือถือไร้แบตของทีมวิจัยยังเป็นแค่รุ่นทดสอบ และยังต้องพัฒนาอีกมากกว่าจะนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้ แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาพลิกโฉมวงการมือถือเข้าสักวันก็ได้ครับ

 

---------------------------------------
ที่มา : TechRadar

แปลและเรียบเรียง : techmoblog.com

Update : 15/08/2017

No battery





Cookie Consent

Our website uses cookies to provide your browsing experience and relavent informations.Before continuing to use our website, you agree & accept of our Cookie Policy & Privacy