หน้าแรก >> ข่าวทั้งหมด >> อ่านบทความ/ข่าว

[รีวิว] ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) โน้ตบุ๊ค Mobile Workstation แรงด้วย Quadro RTX 5000, Intel Xeon Gen 9th พร้อม ScreenPad 2.0 บนดีไซน์จอใหญ่ 17 นิ้ว ขอบจอบางพิเศษ 4 ด้าน

สำหรับ ASUS ProArt StudioBook เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Mobile Workstation ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์งานกราฟิกระดับมืออาชีพ, งาน Animation, สถาปนิก, วิศวกร รวมถึงโปรแกรมเมอร์ ซึ่งเน้นเรื่องประสิทธิภาพของตัวเครื่องเป็นหลัก อีกทั้งดีไซน์ในรูปแบบของโน้ตบุ๊ค ทำให้สามารถพกพาไปข้างนอกได้ จึงเหมาะกับผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป เพราะไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและการทำงานนอกสถานที่นั่นเอง

โดย ASUS ProArt StudioBook Series นั้น มีให้เลือกหลายรุ่น ในระดับราคาเริ่มต้นที่ 64,990 บาท ซึ่งรุ่นที่ทีมงาน techmoblog.com นำมารีวิวกันในวันนี้ก็คือ ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) ที่เป็นรุ่นรองท็อปของซีรี่ส์นี้ จุดเด่นก็คือ เป็น Mobile Workstation ขุมพลังกราฟิกการ์ด Quadro และชิปประมวลผล Intel Xeon เจนเนอเรชั่นที่ 9 บนหน้าจอขนาด 17 นิ้ว พร้อมเทคโนโลยี Four-Sided NanoEdge Display ขอบจอบางพิเศษทั้ง 4 ด้านรุ่นแรก นอกจากนี้ บานพับของหน้าจอยังสามารถปรับได้กว้างถึง 180 องศา ทำให้เปิดจอภาพและวางราบไปกับพื้นโต๊ะได้

เพื่อให้ตอบโจทย์ของการเป็น Mobile Workstation ทำให้ ASUS ProArt StudioBook Pro X รุ่นนี้ ยังมาพร้อมกับนวัตกรรม ScreenPad 2.0 จอภาพระบบสัมผัสขนาด 5.65 นิ้ว ที่เป็นได้ทั้ง TouchPad และหน้าจอที่สองได้ในตัว ทำให้สามารถสร้าง workflow การทำงานแบบ Multitask ได้โดยที่ไม่รบกวนส่วนที่เป็นหน้าจอหลัก

มาดูกันดีกว่าว่า ค่าตัวหลักแสนของโน้ตบุ๊ค Mobile Workstation รุ่นนี้ จะตอบโจทย์การใช้งานมากน้อยแค่ไหน กับรีวิว ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) โดยทีมงาน techmoblog.com

 

สเปก ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730)

  • ขนาดตัวเครื่อง : 382 x 265.3 x 28.2 มม.
  • น้ำหนัก : 2.5 กิโลกรัม
  • หน้าจอแสดงผลขนาด 17 นิ้ว แบบ LED-backlit Four-Sided NanoEdge Display ความละเอียด 1920 x 1200 พิกเซล (FHD)
    • อัตราส่วน 16:10
    • ได้รับการรับรองความเที่ยงตรงของสีจาก PANTONE
    • ค่าความผิดเพี้ยนของสี (Delta-E) น้อยกว่า 1.5
    • ขอบเขตความกว้างของสีสัน (DCI-P3 Color Gamut) อยู่ที่ 97%
    • อัตราส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่อง (Screen-Body Ratio) อยู่ที่ 92%
    • กระจกหน้าจอแบบ Anti-Glare
  • ชิปประมวลผล Intel Xenon E-2276M ความเร็ว 2.8 GHz, Turbo Boost สูงสุด 4.7 GHz
  • ชิปประมวลผลภาพกราฟิก NVIDIA Quadro RTX 5000 16 GB GDDR6
  • หน่วยความจำ RAM ขนาด 64 GB DDR4 ECC (16 GB x4)
  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 4 TB แบบ SSD NVMe M.2 PCIe Gen 3x4 จำนวน 2 ลูก (รองรับ RAID 0/1)
  • รองรับ Wi-Fi 6 (802.11ax) และ Bluetooth 5.0
  • กล้อง Webcam ความละเอียดระดับ HD
  • คีย์บอร์ดแบบ Full-Size พร้อมแป้นตัวเลข (Numeric Keypad), Key Travel ที่ 2.0 mm.
  • ScreenPad ขนาด 5.65 นิ้ว แบบ Super IPS Display ความละเอียด 2160 x 1080 พิกเซล (FHD+)
    • มุมมองกว้าง 178 องศา
    • กระจกเป็นแบบกันรอยขีดข่วน และกันรอยนิ้วมือ
    • รองรับ Gestures สูงสุด 4 นิ้ว
  • พอร์ตการเชื่อมต่อ
    • Thunderbolt 3 USB-C พร้อม Display Port 1.4 (up to 40Gbps) จำนวน 2 พอร์ต
    • USB 3.1 Gen 2 Type-A จำนวน 3 พอร์ต
    • HDMI 2.0 จำนวน 1 พอร์ต
    • SD 4.0 / UHS-II Card Reader (312MB/s) จำนวน 1 พอร์ต
    • ช่องหูฟัง จำนวน 1 ช่อง
    • RJ45 LAN จำนวน 1 พอร์ต
  • ระบบเสียงปรับจูนโดย Harman Kardon พร้อมเทคโนโลยี ASUS SonicMaster
  • แบตเตอรี่แบบ Lithium-Polymer ขนาด 95Wh (6-cell)
  • ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro for Workstations

 

รีวิว ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) : ดีไซน์ และการออกแบบ

สำหรับการออกแบบของ ASUS ProArt StudioBook Pro X อาจจะมองว่าตัวเครื่องมีขนาดใหญ่เทอะทะ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับโน้ตบุ๊คแบบ Mobile Workstation เหมือนกัน ASUS ProArt StudioBook Pro X จะมีขนาดที่เล็กกว่าและบางกว่ามาก

ดีไซน์ด้านนอกจะเป็นวัสดุ Magnesium Alloy เกรด MIL-STD 810G ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการทหาร ที่ผ่านการทดสอบความทนทานถึง 5 อย่างด้วยกัน โดยบอดี้ตัวเครื่องเป็นสีเทา Star Grey พร้อมลวดลายปัด ตัดขอบบนด้วยสี Rose Gold เพิ่มความหรูหรามีระดับ สมชื่อโน้ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation เลยทีเดียว

แม้จะมีขนาดหน้าจอใหญ่ถึง 17 นิ้ว แต่ด้วยเทคโนโลยี Four-Sided ASUS NanoEdge Display ขอบจอบางทั้ง 4 ด้าน ทำให้ขนาดตัวเครื่องของ ASUS ProArt StudioBook Pro X มีขนาดเทียบเท่าโน้ตบุ๊คหน้าจอ 15.6 นิ้ว อีกทั้งยังเป็นโน้ตบุ๊ค ASUS รุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอีกด้วย

 

มาดูกันที่หน้าจอแสดงผลกันบ้าง รุ่นนี้มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 17 นิ้ว แบบ LED-backlit NanoEdge Display ความละเอียด 1920 x 1200 พิกเซล (FHD) ซึ่งเป็นกระจกหน้าจอแบบ Anti-Glare ลดแสงสะท้อน และความพิเศษของรุ่นนี้ก็คือ นอกจากจะมาพร้อมกับอัตราส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่อง (Screen-Body Ratio) ที่ 92% แล้ว ยังเป็นหน้าจอแสดงผลแบบ 16:10 ซึ่งโน้ตบุ๊คทั่วไปจะอยู่ที่ 16:9 เท่านั้น ทำให้มีมุมมองกว้างขึ้นอีก

นอกจากนี้ หน้าจอแสดงผลของ ASUS ProArt StudioBook Pro X ยังได้รับการรับรองความเที่ยงตรงของสีจาก PANTONE ที่มีค่าความผิดเพี้ยนของสี (Delta-E) น้อยกว่า 1.5 และขอบเขตความกว้างของสีสัน (DCI-P3 Color Gamut) อยู่ที่ 97%

 

เนื่องจากเป็นโน้ตบุ๊คสำหรับสาย Creator ทำให้ ASUS ProArt StudioBook Pro X สามารถกางหน้าจอได้มากถึง 180 องศา วางแบนราบไปกับโต๊ะได้เลย

 

ส่วนกล้อง Webcam ถูกติดตั้งอยู่ที่ขอบจอด้านบน ความละเอียดระดับ HD ส่วน 2 ด้านซ้าย-ขวาเป็นไมโครโฟน ซึ่งจะมีปุ่ม Hotkey สำหรับปิดเสียงไมโครโฟนและกล้องอยู่ตรงปุ่ม F10 และ F11 ตามลำดับ

 

มาดูพอร์ตการเชื่อมต่อรอบ ๆ ตัวเครื่องกันบ้าง โดยด้านขวาตัวเครื่อง ประกอบด้วย พอร์ต Thunderbolt 3 USB-C, พอร์ต USB 3.1 Gen 2 Type-A, พอร์ต RJ45 LAN และ Kensington สล็อตเพื่อความปลอดภัย

 

ส่วนด้านซ้ายของตัวเครื่อง ประกอบด้วย พอร์ต DC, พอร์ต HDMI 2.0, พอร์ต USB 3.1 Gen 2 Type-A, ช่องหูฟัง/ไมโครโฟน และช่องสำหรับ SD 4.0 / UHS-II Card Reader เรียกได้ว่า มีพอร์ตให้ใช้งานอย่างครบครัน

 

สำหรับคีย์บอร์ดบน ASUS ProArt StudioBook Pro X เป็นแบบ Full-size มาครบทั้งปุ่ม Fn, Arrow Keys รวมถึงแป้นตัวเลข (NumPad) โดยมีค่า Key Travel ที่ 2.0 mm. และมีไฟ LED สำหรับใช้งานในที่แสงน้อย

 

ปุ่ม Power เป็นปุ่มแยกออกมาอยู่มุมบนด้านขวา โดยเป็นปุ่มสี Rose Gold สีเดียวกับลายเส้นด้านหน้าตัวเครื่อง พร้อมไฟแสดงสถานะ

 

เพิ่มความปลอดภัยในการปลดล็อกตัวเครื่องด้วยเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

 

สำหรับจุดขายของ ASUS ProArt StudioBook Pro X ก็คือ ScreenPad 2.0 ที่มีขนาดจออยู่ที่ 5.65 นิ้ว แบบ Super IPS Display ความละเอียด 2160 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นกระจกที่กันรอยขีดข่วนและรอยนิ้วมือ โดยมีมุมมองกว้าง 178 องศา และรองรับการใช้งานแบบ Gestures ได้สูงสุด 4 นิ้ว

โดย ScreenPad 2.0 นอกเหนือจากการใช้งานเป็น TouchPad แล้ว ยังสามารถใช้งานเป็นหน้าจอที่สอง รวมถึงเป็นเมนูลัดสำหรับเข้าใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่งสามารถสลับโหมดได้ด้วยการกดที่ปุ่ม F6

มาดูกันดีกว่า ScreenPad 2.0 รองรับการใช้งานอะไรบ้าง

 

เริ่มกันที่เมนูควบคุมการทำงานแถบล่างกันก่อน ประกอบด้วย Mode Switch (เปิด-ปิด ScreenPad), Task Group, App Switcher (ตัวสลับแอป), ปุ่ม Home, App Navigator (ตัวนำทางแอป) และเมนูการตั้งค่า

 

สำหรับ Mode Switch เป็นการสลับการทำงานระหว่างโหมดสัมผัส กับโหมดเคอร์เซอร์ ซึ่งสลับการใช้งานง่าย ๆ ด้วยการกดที่ปุ่มดังกล่าว หรือจะใช้ 3 นิ้ว tap บนจอ ScreenPad เพื่อเปลี่ยนเป็นโหมดเคอร์เซอร์ และปิดการใช้งานโหมดเคอร์เซอร์ได้ที่ไอคอนกากบาทมุมบนขวา

 

Task Group คือการเข้าสู่โหมดการทำงานกับการเปิดหลายงานพร้อมกันด้วยการสัมผัสเพียงครั้งเดียว

 

ถัดมาเป็นเมนู App Switcher คือการสลับจากหน้าจอหลักมายังหน้าจอ ScreenPad วิธีการใช้งานก็ง่าย ๆ เพียงแค่ลากแอปฯ จากจอหลักมายังจอ ScreenPad จากนั้นกดที่ไอคอน App Switcher เพื่อย้ายแอปฯ ดังกล่าวกลับไปยังหน้าจอหลัก

 

App Navigator เป็นส่วนที่รวมแอปฯ ทั้งหมดที่เปิดบนจอ ScreenPad ซึ่งสามารถสลับไปงานแอปฯ อื่น หรือปิดแอปฯ ได้เลยจากส่วนนี้ ส่วนการแตะที่แอปฯ ค้างไว้ สามารถสลับแอปฯ ไปยังจอหลักได้ด้วยการลากไปที่ไอคอนด้านซ้าย หรือลากไปที่ไอคอนด้านขวาเพื่อเพิ่มแอปฯ ดังกล่าวไปยังหน้า Home ของจอ ScreenPad

 

ด้านเมนูการตั้งค่า สามารถเลือกเปลี่ยนวอลเปเปอร์, ความสว่างของหน้าจอ, ความละเอียดของหน้าจอ และอื่น ๆ

 

นอกเหนือจากฟังก์ชันการใช้งานด้านบนแล้ว บน ScreenPad 2.0 ยังได้ติดตั้งแอปพลิเคชันแบบ Utilities มาให้อีกด้วย อย่างเช่น ใช้ ScreenPad เป็นเครื่องคิดเลข

 

สร้างทางลัดบนแป้นพิมพ์ เช่น copy, paste, select all, undo และอื่น ๆ

 

ส่วนคนที่ใช้งาน Microsoft Office เป็นประจำ ก็จะมี Office Xpert ซึ่งเป็นเมนูย่อยทำให้ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

สำหรับการเปิด-ปิดหน้าจอ ScreenPad ทำได้ง่าย ๆ ด้วยกดที่ปุ่ม F6 เพื่อเลือกโหมดการใช้งาน ซึ่งได้แก่ ScreenPad Mode, Traditional Touchpad Mode ใช้เป็น Touchpad อย่างเดียว หรือ Touchpad is disabled เพื่อปิดการทำงาน

 

ด้านระบบเสียงรุ่นนี้ปรับจูนโดย Harman Kardon พร้อมเทคโนโลยี ASUS SonicMaster โดยตัวลำโพงจะอยู่ 2 ด้านซ้ายขวา แม้ตำแหน่งจะอยู่ด้านล่างตัวเครื่องแต่ก็ไม่บดบังเสียงเพราะเป็นการออกแบบแบบหักมุมนั่นเอง

 

ด้านการระบายความร้อน จะมีช่องด้านบนเหนือคีย์บอร์ดเป็นช่องดูดลมเย็น และด้านหลังเป็นช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ พร้อมช่องไล่ฝุ่น Anti-Dust Cooling โดยรุ่นนี้ไม่ได้ใช้ส่วนของแผงจอในการยกตัวเครื่อง ทำให้มีการติดตั้งฐานเครื่องเพื่อยกตัวเครื่องให้สูงขึ้น ส่งผลทำให้การระบายความร้อนดีขึ้น

 

รีวิว ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) : ทดสอบ Benchmark และประสิทธิภาพการใช้งาน

ดูดีไซน์และฟังก์ชันการใช้งานของ ASUS ProArt StudioBook Pro X กันไปแล้ว ต่อไปเราจะมาทดสอบ Benchmark กันบ้างว่า โน้ตบุ๊คแบบ Mobile Workstation รุ่นนี้จะเร็วและแรงสมชื่อแค่ไหน โดยรุ่นนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผล Intel Xenon E-2276M ความเร็ว 2.8 GHz ที่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.7 GHz ซึ่งเป็นซีพียู Intel 9th Gen แบบ 6 Cores 12 Theads พร้อม RAM ภายในขนาด 64 GB แบบ DDR4 และขับเคลื่อนบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro for Workstations

หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่คุ้นชื่อของ Intel Xeon Processor เท่าไหร่นัก ซึ่ง Intel Xeon Processor นั้น เป็นซีพียูที่เหมาะกับการใช้งานแบบหนัก ๆ ประมวลผลอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น พวก Server หรือสายงานมัลติมีเดียอย่างการเรนเดอร์ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ เพราะซีพียูรุ่นนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานจำพวกนี้โดยเฉพาะ และมีระบบระบายความร้อนที่ดี ทำให้ราคาค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป

 

ด้านกราฟิกการ์ดจะมีทั้งแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่รองรับการใช้งานกราฟิก 2 มิติได้อย่างสบาย ๆ ส่วนการใช้งานด้าน 3 มิติรองรับได้ในระดับเบื้องต้น และยังมีการ์ดจอแยก NVIDIA Quadro RTX 5000 16 GB GDDR6 ที่ขับเคลื่อนด้วยสถาปัตยกรรม NVIDIA Turing, แพลตฟอร์ม NVIDIA RTX และ Ray Tracing แบบเรียลไทม์ จึงเหมาะกับงานที่ต้องการการประมวลผลด้านกราฟิกในระดับสูง นอกจากนี้ยังมี AI ที่ช่วยลดเวลาในการทำงานบางอย่างแบบซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอีกด้วย

 

สำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ เป็น SSD แบบ NVMe PCIe Gen 3x4 2280 M.2 จำนวน 2 ลูก (รองรับ RAID 0/1) ซึ่งทำความเร็วในการอ่านที่ 5,217.65 MB/s และเขียนที่ 3,061.09 MB/s

 

ทดสอบประสิทธิภาพด้วยโปรแกรม PCMark 10 ทำคะแนนการทดสอบได้ที่ 5,019 คะแนน ซึ่งถือว่าสูงกว่าโน้ตบุ๊คทั่วไปเนื่องจากรุ่นนี้เป็น Mobile Workstation ที่มีการ์ดจอแยก NVIDIA Quadro RTX 5000 นั่นเอง โดยสอบผ่านทั้งการทำงานในระดับทั่วไปและระดับสูงได้อย่างสบาย ๆ

 

สำหรับคะแนนทดสอบจากโปรแกรม CINEBENCH ก็อยู่ในระดับสูงอย่างน่าประทับใจ สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของชิปประมวลผล Intel Xeon E-2276M ตอบโจทย์การทำงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลมากเป็นพิเศษ

 

สำหรับซอฟท์แวร์ MyASUS ถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้งานโน้ตบุ๊ค ASUS รวมถึง ASUS ProArt StudioBook Pro X รุ่นนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของตัวเครื่อง, อัปเดตซอฟท์แวร์/ไดร์เวอร์ และสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน Android ได้ ซึ่งถือว่าเป็นซอฟท์แวร์ที่มีประโยชน์กับผู้ใช้งานมากเลยทีเดียว

 

บทสรุปการใช้งาน

สำหรับ Mobile Workstation อย่าง ASUS ProArt StudioBook Pro X รุ่นนี้ ถือว่าทาง ASUS ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะจัดเต็มด้วยสเปกสำหรับการทำงานในระดับมืออาชีพแล้ว ยังเอาใจใส่ไปจนถึงเรื่องของดีไซน์ตัวเครื่อง แม้จะมีขนาดหน้าจอใหญ่ถึง 17 นิ้ว แต่ขนาดตัวเครื่องเทียบเท่าโน้ตบุ๊คจอ 15.6 นิ้วเท่านั้น เนื่องจากมาพร้อมกับเทคโนโลยี Four-Sided NanoEdge Display ขอบจอบางทั้ง 4 ด้าน และเป็นรุ่นแรกของ ASUS ที่ใช้เทคโนโลยีนี้อีกด้วย

โดย ASUS ProArt StudioBook Pro X มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 17 นิ้ว แบบ LED-backlit ความละเอียด 1920 x 1200 พิกเซล บนอัตราส่วนขนาด 16:10 และมีอัตราส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่อง (Screen-Body Ratio) ที่ 92% นอกจากนี้ ยังได้รับการรับรองความเที่ยงตรงของสีจาก PANTONE ที่มีค่าความผิดเพี้ยนของสี (Delta-E) น้อยกว่า 1.5 และขอบเขตความกว้างของสีสัน (DCI-P3 Color Gamut) อยู่ที่ 97%

 

ด้านการประมวลผล มาพร้อมกับชิปประมวลผล Intel Xenon E-2276M ความเร็ว 2.8 GHz ที่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.7 GHz ซึ่งเป็นซีพียู Intel 9th Gen แบบ 6 Cores 12 Theads พร้อม RAM ภายในขนาด 64 GB แบบ DDR4, พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 4 TB แบบ SSD และกราฟิกการ์ด NVIDIA Quadro RTX 5000 16 GB GDDR6 กับแบบออนบอร์ด Intel UHD Graphics 630 อีกทั้งยังมาพร้อมกับพอร์ตการเชื่อมต่อแบบครบครับ ไม่ต้องหาอุปกรณ์เสริมอื่นเพิ่มเติม

สำหรับจุดเด่นของ ASUS ProArt StudioBook Pro X ที่เหนือกว่าโน้ตบุ๊ครุ่นอื่น นั่นก็คือ ScreenPad 2.0 ที่มีขนาดจออยู่ที่ 5.65 นิ้ว แบบ Super IPS Display ความละเอียด 2160 x 1080 พิกเซล โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการเป็น TouchPad, หน้าจอที่สอง รวมถึงเป็นเมนูลัดสำหรับเข้าใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ

นอกจากนี้ ทาง ASUS ยังได้ทำการทดสอบและลงทุนเพื่อให้ได้การรับรองจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์อิสระ โดยผ่านมาตรฐาน ISV Certifications ทำให้สามารถใช้งานกับซอฟท์แวร์จากผู้พัฒนาระดับโลกได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Lightroom, After Effects, Premier Pro, AutoCAD, Creo และอื่น ๆ สมกับการเป็น Mobile Workstation อย่างแท้จริง

สำหรับราคาของ ASUS ProArt StudioBook Pro X (W730) รุ่นนี้ อยู่ที่ 199,990 บาท พร้อมรับประกัน 3 ปีทั่วโลก, On-Site Service นานถึง 3 ปี และประกันอุบัติเหตุ Perfect Warranty 1 ปีแรกอีกด้วย วางจำหน่ายแล้ววันนี้ผ่านทางตัวแทนชั้นนำทั่วประเทศ และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ ASUS ProArt StudioBook Pro X และสั่งซื้อได้ที่ https://bit.ly/31eAq1j

 

 

------------------------------------

บทความรีวิวโดย : techmoblog.com

Update : 17/09/2020

ASUS ProArt StudioBook Pro X





Cookie Consent

Our website uses cookies to provide your browsing experience and relavent informations.Before continuing to use our website, you agree & accept of our Cookie Policy & Privacy